พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เหรียญสร้างชาติ...
เหรียญสร้างชาติ ที่ระลึกการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พ.ศ.๒๔๘๒
เหรียญสร้างชาติ พ.ศ. ๒๔๘๒

จอมพล ป.พิบูลสงคราม หนึ่งในคณะราษฎรสายทหาร ผู้ร่วมก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ ๓ ของไทยในปี พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗ ได้มีนโยบายในการสร้างชาติ ที่มีแนวโน้มเป็นลัทธิคลั่งชาติ ดังเช่น การออกกฎหมายคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ มีการสงวนอาชีพบางอย่างไว้เฉพาะคนไทย และปลูกฝังให้ประชาชนนิยมใช้สินค้าไทย ด้วยคำขวัญว่า ‘ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ’
รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และให้เกิดความทันสมัย เช่น ประกาศให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง เลิกสวมเสื้อราชประแตน และให้นุ่งกางเกงขายาวแทน มีการยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก ‘สยาม’ เป็น ‘ไทย’ ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ และเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันที่ ๑ มกราคมของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับสากล โดยเริ่มเปลี่ยนในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ทำให้ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ มีเพียง ๙ เดือนเท่านั้น

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บนถนนราชดำเนิน เป็นอีกหนึ่งในผลงานของรัฐบาลจอมพล.ป. พิบูลสงคราม
จุดมุ่งหมายของการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแห่งนี้ เกิดขึ้นจากดำริของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่จะสร้างอนุสรณ์เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังรำลึกถึงความสามัคคีกลทเกลียวในชาติ และพิทักษ์รัฐธรรมนูญของชาติ ตลอดจนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนี้นำมาซึ่งความสถาพรแก่ชาติ รัฐบาลจึงจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดหาพื้นที่เหมาะสมแก่การสร้างอนุสาวรีย์ เมื่อพิจารณาที่เหมาะสมนั้น จึงเห็นว่าบริเวณถนนราชดำเนินที่กำลังมีการปรับปรุงอยู่ในขณะนั้น เป็ยพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด อีกทั้งในขณะนั้นยังมีการก่อสร้างสะพานเฉลิมวันชาติในบริเวณเดียวกัน
โดยสร้างขึ้นตามแบบที่หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล ส่งเข้าประกวดการออกแบบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และได้รางวัลชนะเลิศมา ซึ่งการออกแบบนั้นได้นำสถาปัตยกรรมแบบไทยมาผสมผสาน ตรงกลางเป็นสมุดไทยที่สื่อถึง ‘รัฐธรรมนูญ’ ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า
พิธีก่อฤกษ์อนุสาวรีย์ได้ถือฤกษ์วันชาติไทยในขณะนั้น คือ วันที่ ๒๔ มิถนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นวันก่อฤกษ์ โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานในพิธีมณฑล พิธีเริ่มต้นขึ้นในเวลา ๙ นาฬิกา ๑๖ นาที เสร็จสิ้นเมื่อเวลา ๙ นาฬิกา ๕๗ นาที
ในการก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนั้น รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่ควบคุมการก่อสร้าง โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง และนายสิทธิเดช แสงหิรัญ เป็นผู้ช่วยปั้นอนุสาวรีย์
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวไว้ในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ตอนหนึ่งว่า
“อนุสาวรีย์นี้จะเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญก้าวหน้าทั้งมวล เป็นต้นว่า ถนนสายต่างๆ ที่จะออกจากกรุงเทพฯ ไปยังหัวเมืองก็จะนับต้นทางจากอนุสาวรีย์นี้ ถนนราชดำเนินซึ่งเป็นแนวของอนุสาวรีย์ก็กำลังสร้างอาคารให้สง่างามเป็นที่เชิดชูเกียรติของประเทศ และเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยจะทำให้ถนนนี้เป็นที่เชิดชูยิ่ง”

หนึ่งใน ‘เหรียญ’ ที่ได้สร้างขึ้นมาในห้วงระยะที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗ ที่หยิบยกมากล่าวถึงให้ได้รู้จักกัน คือ ‘เหรียญสร้างชาติ’ เป็นเหรียญปั๊มรูปเสมา มีหูในตัว สร้างขึ้นมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๒
ด้านหน้า เป็นรูปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ด้านหลัง มีอักษรไทยจารึกว่า ‘สร้างชาติ’
เหรียญดังกล่าวนี้กล่าวกันว่าได้มีการจัดทำพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนั้นยังมีบางส่วนที่ได้นำมาให้หลวงพ่อผิน วัดโพธิ์กรุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ทำการปลุกเสก ซึ่งในเหรียญส่วนนี้มีการลงจารอักขระด้านหน้าเหรียญด้วย
กล่าวสำหรับหลวงพ่อผิน พุทธสโร หรือ ‘พระครูวิบูลศีลาจาร’ เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๔ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ที่วัดโพธิ์กรุ มีพระอธิการแย้ม วัดกุฎีดาว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์
ได้ศึกษาวิชาทั้งพระธรรมวินัย หนังสือไทย หนังสือขอม อักขระวิธี และวิชาความรู้ด้านอื่นๆ เช่น เวทมนตร์คาถา และความรู้ด้านอื่นๆ กับพระอธิการอิน เจ้าอาวาสวัดโพธิ์กรุ จนแตกฉาน
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์กรุ สืบต่อจากพระอธิการอิน ในขณะนั้นมีอายุได้เพียง ๒๗ ปี เท่านั้น ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลท่าช้าง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘
และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ ‘พระครูวิบูลศีลจาร’
ผู้เข้าชม
9503 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
(กอล์ฟ + มน) พระเครื่อง
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
Golf​ (ID​ LINE​:Golf6), (มน ID:090-3569057)
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 125-4-59948-1

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
ep8600tintintermboonว.ศิลป์สยามเพ็ญจันทร์Le29Amulet
เจริญสุขmon37Manas094ยุ้ย พลานุภาพทองธนบุรีภูมิ IR
gorn9chaithawatแหลมร่มโพธิ์นิสสันพระเครื่องหนองคายก้อง วัฒนาTotoTato
somemanNetnapaMannan4747pratharn_pKshopfuchoo18
ศรัทธามนต์เมืองจันท์พล ปากน้ำnattapong939แมวดำ99พระเครื่องโคกมน

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1228 คน

เพิ่มข้อมูล

เหรียญสร้างชาติ ที่ระลึกการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พ.ศ.๒๔๘๒




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
เหรียญสร้างชาติ ที่ระลึกการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พ.ศ.๒๔๘๒
รายละเอียด
เหรียญสร้างชาติ พ.ศ. ๒๔๘๒

จอมพล ป.พิบูลสงคราม หนึ่งในคณะราษฎรสายทหาร ผู้ร่วมก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ ๓ ของไทยในปี พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗ ได้มีนโยบายในการสร้างชาติ ที่มีแนวโน้มเป็นลัทธิคลั่งชาติ ดังเช่น การออกกฎหมายคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ มีการสงวนอาชีพบางอย่างไว้เฉพาะคนไทย และปลูกฝังให้ประชาชนนิยมใช้สินค้าไทย ด้วยคำขวัญว่า ‘ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ’
รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และให้เกิดความทันสมัย เช่น ประกาศให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง เลิกสวมเสื้อราชประแตน และให้นุ่งกางเกงขายาวแทน มีการยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก ‘สยาม’ เป็น ‘ไทย’ ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ และเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันที่ ๑ มกราคมของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับสากล โดยเริ่มเปลี่ยนในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ทำให้ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ มีเพียง ๙ เดือนเท่านั้น

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บนถนนราชดำเนิน เป็นอีกหนึ่งในผลงานของรัฐบาลจอมพล.ป. พิบูลสงคราม
จุดมุ่งหมายของการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแห่งนี้ เกิดขึ้นจากดำริของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่จะสร้างอนุสรณ์เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังรำลึกถึงความสามัคคีกลทเกลียวในชาติ และพิทักษ์รัฐธรรมนูญของชาติ ตลอดจนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนี้นำมาซึ่งความสถาพรแก่ชาติ รัฐบาลจึงจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดหาพื้นที่เหมาะสมแก่การสร้างอนุสาวรีย์ เมื่อพิจารณาที่เหมาะสมนั้น จึงเห็นว่าบริเวณถนนราชดำเนินที่กำลังมีการปรับปรุงอยู่ในขณะนั้น เป็ยพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด อีกทั้งในขณะนั้นยังมีการก่อสร้างสะพานเฉลิมวันชาติในบริเวณเดียวกัน
โดยสร้างขึ้นตามแบบที่หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล ส่งเข้าประกวดการออกแบบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และได้รางวัลชนะเลิศมา ซึ่งการออกแบบนั้นได้นำสถาปัตยกรรมแบบไทยมาผสมผสาน ตรงกลางเป็นสมุดไทยที่สื่อถึง ‘รัฐธรรมนูญ’ ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า
พิธีก่อฤกษ์อนุสาวรีย์ได้ถือฤกษ์วันชาติไทยในขณะนั้น คือ วันที่ ๒๔ มิถนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นวันก่อฤกษ์ โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานในพิธีมณฑล พิธีเริ่มต้นขึ้นในเวลา ๙ นาฬิกา ๑๖ นาที เสร็จสิ้นเมื่อเวลา ๙ นาฬิกา ๕๗ นาที
ในการก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนั้น รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่ควบคุมการก่อสร้าง โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง และนายสิทธิเดช แสงหิรัญ เป็นผู้ช่วยปั้นอนุสาวรีย์
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวไว้ในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ตอนหนึ่งว่า
“อนุสาวรีย์นี้จะเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญก้าวหน้าทั้งมวล เป็นต้นว่า ถนนสายต่างๆ ที่จะออกจากกรุงเทพฯ ไปยังหัวเมืองก็จะนับต้นทางจากอนุสาวรีย์นี้ ถนนราชดำเนินซึ่งเป็นแนวของอนุสาวรีย์ก็กำลังสร้างอาคารให้สง่างามเป็นที่เชิดชูเกียรติของประเทศ และเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยจะทำให้ถนนนี้เป็นที่เชิดชูยิ่ง”

หนึ่งใน ‘เหรียญ’ ที่ได้สร้างขึ้นมาในห้วงระยะที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗ ที่หยิบยกมากล่าวถึงให้ได้รู้จักกัน คือ ‘เหรียญสร้างชาติ’ เป็นเหรียญปั๊มรูปเสมา มีหูในตัว สร้างขึ้นมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๒
ด้านหน้า เป็นรูปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ด้านหลัง มีอักษรไทยจารึกว่า ‘สร้างชาติ’
เหรียญดังกล่าวนี้กล่าวกันว่าได้มีการจัดทำพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนั้นยังมีบางส่วนที่ได้นำมาให้หลวงพ่อผิน วัดโพธิ์กรุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ทำการปลุกเสก ซึ่งในเหรียญส่วนนี้มีการลงจารอักขระด้านหน้าเหรียญด้วย
กล่าวสำหรับหลวงพ่อผิน พุทธสโร หรือ ‘พระครูวิบูลศีลาจาร’ เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๔ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ที่วัดโพธิ์กรุ มีพระอธิการแย้ม วัดกุฎีดาว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์
ได้ศึกษาวิชาทั้งพระธรรมวินัย หนังสือไทย หนังสือขอม อักขระวิธี และวิชาความรู้ด้านอื่นๆ เช่น เวทมนตร์คาถา และความรู้ด้านอื่นๆ กับพระอธิการอิน เจ้าอาวาสวัดโพธิ์กรุ จนแตกฉาน
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์กรุ สืบต่อจากพระอธิการอิน ในขณะนั้นมีอายุได้เพียง ๒๗ ปี เท่านั้น ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลท่าช้าง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘
และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ ‘พระครูวิบูลศีลจาร’
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
9504 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
(กอล์ฟ + มน) พระเครื่อง
URL
เบอร์โทรศัพท์
0903569057
ID LINE
Golf​ (ID​ LINE​:Golf6), (มน ID:090-3569057)
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 125-4-59948-1




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี